โครงการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของภาคการผลิตและการบริการ
ระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยนเรศวร
มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ลงนามความร่วมมือ “โครงการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของภาคการผลิตและการบริการ” เพื่อบริการสอบวัดระดับความรู้และพื้นฐานด้านไอทีด้วยมาตรฐานสากล โครงการสอบมาตรฐานวิชาชีพไอที หรือ Information Technology Professional Examination (ITPE) ภายใต้ความรับผิดชอบของสถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต เป็นการสอบวัดระดับความรู้และทักษะพื้นฐานด้านไอทีเพื่อยกระดับคุณภาพการทำงานอย่างมืออาชีพซึ่งได้รับการรับรองเกณฑ์การวัดความรู้ไอทีที่เป็นมาตรฐานสากลแบบไม่อิงผลิตภัณฑ์ ระหว่างกลุ่มภาคีอีก 6 ประเทศ (Information Technology Professionals Examination Council : ITPEC) คือ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม พม่า มองโกเลีย บังคลาเทศ และประเทศไทย
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยกองบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (CITCOMS) ได้รับหน้าที่ให้เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดอบรม และสถานที่จัดสอบให้แก่นิสิต อาจารย์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร และบุคคลภายนอกที่สนใจเข้าร่วมสอบมาตรฐานวิชาชีพไอทีในโครงการฯ โดยจะดำเนินการจัดสอบปีละ 2 ครั้ง
กำหนดการและสถานที่สอบ
วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2567 (เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 9 เมษายน 2567) ศูนย์สอบมหาวิทยาลัยนเรศวร ณ อาคารศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (CITCOMS)
ระดับที่เปิดสอบ
ระดับ 1: Information Technology Passport Examination (IP) บุคคลที่มีความรู้พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระดับ 2: Fundamental Information Technology Engineer Examination (FE) บุคคลที่ยกระดับให้ตนเป็นทรัพยากรบุคคลด้านเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า
วัตถุประสงค์
1. ส่งเสริมให้ผู้มีความรู้ความสามารถด้านไอทีได้รับโอกาสในการเข้าทำงาน และเป็นที่ยอมรับในตลาดแรงงานด้านไอทีทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2. สร้างความตระหนักรู้และกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลสายไอที ทั้งในระดับหน่วยงานและระดับประเทศ
3. ส่งเสริมและผลักดันให้บุคลากรสายไอทีได้ใฝ่หาความรู้และยกระดับทักษะของตนเองให้ได้มาตรฐานและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง
4. ให้สถาบันการศึกษาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน
5. ผู้ประกอบการสามารถใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการพิจารณา สรรหา คัดเลือก ปรับ/เลื่อนตำแหน่งบุคลากรสายไอที ให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของแต่ละบุคคล
ประโยชน์ที่ได้รับจากการสอบ
ระดับบุคคล
• ได้รับใบประกาศนียบัตรระดับภูมิภาครับรองโดยภาคีสมาชิก ITPEC
• ได้รับสิทธิพิเศษในการพิจารณาคัดเลือกเข้ารับทุนฝึกอบรมของประเทศญี่ปุ่น
• สามารถรับงาน Outsource ของประเทศญี่ปุ่น และเป็นคุณสมบัติประกอบการขอ Work Permit ทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้
• เพิ่มรับโอกาสใหม่ในการรับงานจากประเทศในภาคีสมาชิก ITPEC ได้
• เป็นโอกาสสำหรับบุคลากรที่ไม่มีพื้นฐานการศึกษาในสายไอทีมาก่อน แต่มีทักษะและความสามารถได้ปรับวุฒิให้ตรงตามความสามารถ
• เป็นการพัฒนาความรู้และทักษะอย่างต่อเนื่องให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน
ระดับองค์กร
• ได้บุคลากรที่มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานในการแข่งขันทางธุรกิจที่ยั่งยืน
• ใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการพิจารณาคัดเลือก ปรับ/เลื่อนตำแหน่งบุคลากรด้านไอที
• ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลสายไอที
• ใช้เป็นแนวทางการจัดทำ IT Competencies Assessment for Corporate Human Resource
ระดับประเทศ
• บุคลากรไอซีทีของไทยมีศักยภาพ มีความสามารถแข่งขันได้ในเวทีนานาชาติ
• การขยายตัวและส่งเสริมมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศในระบบเศรษฐกิจของประเทศ
• เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็นภาคีหนึ่งในประชาคมอาเซียน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณจรัสศรี เหล็กสิงห์ งานบริการเทคโนโลยี CITCOMS
หมายเลขโทรศัพท์ 0-5596-1522 e-Mail : TS@nu.ac.th
ค้นหาเส้นทางมายังอาคารศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (CITCOMS) ได้ที่ https://numap.nu.ac.th/